ภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีจัดเก็บเจ้าของที่ดินตามราคาปานกลางที่ดินและตามบัญชีอัตราบำรุงท้องที่
ที่ดิน ที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ ที่ดินที่เป็นของบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือสิทธิครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนที่ดินต้องเสีย ภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ พื้นที่ดิน และพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย โดยไม่เป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินได้รับการยกเว้นภาษีหรืออยู่ในเกณฑ์ลด หย่อน

ที่ดินที่เจ้าของที่ดินไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่
1. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
2. ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์
3. ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์
4.ที่ดินที่ใช้ในการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือกุศลสาธารณะ
5. ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประกอบศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์
6. ที่ดินที่ใช้เป็นสุสาน หรือฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
7. ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐหรือใช้เป็นสนามบินของรัฐ
8. ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องจากโรงเรือน ที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว
9. ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์
10. ที่ดินที่ตั้งขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศอื่นในเมื่อประเทศ ไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง
11. ที่ดินที่เป็นที่ต้องของสถานทูตหรือสถานกงสุล ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
12. ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ ที่เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีใดมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปีนั้น กำหนดระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ให้เจ้าของที่ดินซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ณ สำนักงานเทศบาลตำบลนครชัยศรีงานผลประโยชน์ กองคลัง ภายในเดือนมกราคมของปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินแบบแสดงรายการที่ ได้ยื่นไว้นั้นใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลา 4 ปี นั้น

หลักฐานที่ใช้ประกอบในการเสียภาษีบำรุงท้องที่
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนบริษัท
4. หลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเจ้าของที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3
5. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)
6. หนังสือมอบอำนาจกรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำการแทน
กรณี ที่เป็นการเสียภาษีในปีที่ไม่ใช่ปีที่ยื่นแบบ ภ.บ.ท.5 ให้นำ ภ.บ.ท.5 ท่านที่มอบให้เจ้าของที่ดินหรือใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้ายมาด้วย

ขั้นตอนในการติดต่อขอชำระภาษี
1.การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินกรณีผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการตีราคาปานกลางที่ดิน
● ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือเจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) พร้อมด้วยหลักฐานที่ต้องใช้ต่อพนักงานประเมินภายในเดือนมกราคมของปีที่มีการ ประเมินราคาปานกลางของที่ดิน
● เจ้าพนักงานประเมินจะทำการตรวจสอบและคำนวณค่าภาษีแล้วแจ้งการประเมิน(ภ.บ. ท.9 หรือ ภ.บ.ท.10) ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือเจ้าของที่ดินทราบว่าจะต้องเสียภาษีเป็นจำนวน เงินเท่าใดภายในเดือนมีนาคม
● ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือเจ้าของที่ดินจะต้องเสียภาษีในเดือนเมษายนของทุกปี เว้นแต่กรณีได้รับใบแจ้งการประเมินหลังเดือนมีนาคมต้องชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแจ้งการประเมิน

2. การยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน กรณีเป็นเจ้าของที่ดินรายใหม่หรือจำนวนเนื้อที่ดินเดิมเปลี่ยนแปลงไป
● เจ้าของที่ดินได้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเนื้อที่ดินหรือเป็นผู้ได้รับโอน ที่ดินขึ้นใหม่ ต้องมายื่นแบบแสดงรายการที่ดินหรือยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงจำนวนเนื้อที่ดิน ต่อพนักงานประเมินภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับการโอนหรือมีการเปลี่ยนแปลงโดยใช้แบบ ภ.บ.ท.5 หรือ ภ.บ.ท.8 แล้วแต่กรณี
● เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแบบแล้ว จะออกใบรับไว้ให้เป็นหลักฐาน
● เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบว่าจะต้องเสียภาษีในปีต่อไปจำนวนเท่าใด

3. การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินกรณีเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอันเป็นเหตุให้การลด หย่อนเปลี่ยนแปลงไปหรือมีเหตุอย่างอื่นทำให้อัตราภาษีบำรุงท้องที่เปลี่ยน แปลงไป
● เจ้าของที่ดินยื่นคำร้องตามแบบ ภ.บ.ท.8 พร้อมด้วยหลักฐานที่ต้องใช้ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
● เจ้าพนักงานประเมินจะออกใบรับให้
● เจ้าพนักงานจะต้องแจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบว่าจะต้องเสียภาษีในปีต่อไปจำนวนเท่าใด
● การขอชำระภาษีบำรุงท้องที่ในปีถัดไปจากปีที่มีการประเมินราคาปานกลางของ ที่ดินให้ผู้รับประเมินนำใบเสร็จรับเงินของปีก่อนพร้อมกับเงินไปชำระภายใน เดือนเมษายาของทุกปี

เงินเพิ่ม
เจ้าของที่ดินผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ต้องเสียเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้
1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีบำรุงท้องที่เว้นแต่กรณีที่เจ้าของที่ดินได้ยื่นแบบแสดงรายการ ที่ดินก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้นให้เสีย เงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีบำรุงท้องที่
2. ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีบำรุง ท้องที่ลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีบำรุงท้องที่ที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีเจ้าของที่ดินได้มาขอ แก้ไขแบบแสดงรายการที่ดินให้ถูกต้องก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการ ประเมิน
3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้องต่อเจ้าพนักงานสำรวจโดยทำให้จำนวนเงิน ที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่าของภาษีบำรุงท้องที่ลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่าของภีบำรุงท้องที่ที่ประเมินเพิ่มเติม
4. ไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปีของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและไม่นำเงินเพิ่มตาม ข้อ 1– ข้อ 4 มารวมคำนวณด้วย

การยึดอายัดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระภาษี
ทรัพย์สิน ของผู้ต้องรับผิดชำระภาษีบำรุงท้องที่ค้างชำระอาจถูกยึดอายัดหรือขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระภาษีบำรุงท้องที่ค้างชำระโดยให้นายอำเภอหรือนายกเทศมนตรี มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือ

วิธีการยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้นำวิธีการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาบังคับใช้โดยอนุโลม

บทกำหนดโทษ
1. ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำเท็จตอบคำถามถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำ พยายหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุง ท้องที่ต้องระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ผู้ใดจงใจไม่มาหรือยอมชี้เขตหรือไม่ยอมแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินต้องระหว่างโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เดิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ผู้ใดขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการสำรวจเนื้อที่ดินหรือปฏิบัติหน้าที่ เพื่อการเร่งรัดภาษีบำรุงท้องที่ค้างชำระหรือขัดขวางเจ้าพนักงานประเมินใน การปฏิบัติการตามหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งให้มาให้ถ้อยคำหรือส่งบัญชีหรือ เอกสารมาตรวจสอบหรือ  สั่งให้ปฏิบัติการเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดภาษีบำรุงท้องที่ ค้างชำระหรือไม่มาให้ถ้อยคำหรือ     ไม่ส่งเอกสารอันควรแก่เรื่องมาแสดงตามหนังสือเรียกต้องระหว่างโทษจำคุกไม่ เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

การลดหย่อน/ การยกเว้น/ การลดภาษี
การลดหย่อนภาษี มาตรา 22
บุคคล ธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวกันหรือหลายแปลงที่อยู่ในจังหวัดเดียว กันและใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตนหรือประกอบกสิกรรมของตนให้ลดหย่อน ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามเกณฑ์โดยออกข้อบังคับดังต่อไปนี้
1. นอกเขตเทศบาลให้ลดหย่อน 3-5 ไร่
2. เขตเทศบาลตำบลหรือเขตสุขาภิบาลให้ลดหย่อน 200-400 ตารางวา
3. เขตเทศบาลอื่นนอกจากเขตเทศบาลตำบลและเขตเมืองพัทยาให้ลดหย่อน 50-100 ตารางวา
4. ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครให้ลดหย่อนดังต่อไปนี้
● ท้องที่ที่มีชุมชนหนาแน่นมาก  ให้ลดหย่อน 50-100 ตารางวา
● ท้องที่ที่มีชุมชนหนาแน่ปานกลาง  ให้ลดหย่อน 100 ตารางวา – 1 ไร่
● ท้องที่ชนบท ให้ลดหย่อน 3-5 ไร่
บุคคล ธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน  ให้ได้รับลดหย่อนร่วมกัน ตามหลักเกณฑ์ข้างต้นการลดหย่อนให้ลดหย่อนสำหรับที่ดินในจังหวัดเดียวกัน

การยกเว้น การลดภาษี มาตรา 23
1. ปีที่ล่วงหน้ามาที่ดินที่ใช้ปลูกเสียหายมากผิดปกติหรือ
2. เพราะปลูกไม่ได้ด้วยเหตุพ้นวิสัย
3.ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยกเว้นหรือลดภาษีได้ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

การอุทธรณ์ การฟ้องศาล
ถ้า เจ้าของที่ดินไม่เห็นพ้องด้วยกับราคาปานกลางที่ดิน หรือเมื่อได้รับแจ้งการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ แล้วเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ได้  โดยยื่นอุทธรณ์ผ่านเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประกาศราคาปานกลางของที่ดิน  หรือวันที่ได้รับการแจ้งประเมินแล้วแต่กรณี การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีบำรุงท้องที่  เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดให้ขอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำ พิพากษาของศาล ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อศาลภายใน 30 วัน  นับแต่วันที่ได้รับคำแจ้งวินิจฉัยอุทธรณ์

การขอคืนภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ ที่เสียภาษีบำรุงท้องที่โดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินกว่าที่ควรจะ ต้องเสียผู้นั้นมีสิทธิขอรับเงินคืน ภายใน 1 ปีได้  โดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เสียภาษีภาษีบำรุงท้องที่