ภาษีป้าย

การจัดเก็บภาษีป้าย
1. ป้ายที่ต้องเสียภาษี
ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย ได้แก่ ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบการกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดง หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย ที่เขียน แกะ สลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีใดๆ

2. ป้ายที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้าย ได้แก่

ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพ และบริเวณของโรงมหรสพนั้น เพื่อโฆษณามหรสพ
ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้า หรือที่สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้า
ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
ป้ายที่แสดงไว้ภายในร้านอาหารที่ใช้ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น หรือประกอบภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานทั้งนี้เพื่อหารายได้และแต่ละป้ายมี พื้นที่ไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง (กฎกระทรวง ฉบับที่8 (พ.ศ.2542) กำหนดว่าต้องเป็นป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกินสามตารางเมตร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2542) แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนแผ่นดิน
ป้ายขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆและหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
ป้ายของธนาคารของประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์และบริษัทเงินทุน อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษา เอกชนที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
ป้ายของสมาคมมูลนิธิ
ป้ายที่กำหนดในกฎกระทรวง

กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ออกตามความในนต์ พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 กำหนดป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีป้ายคือ

ป้ายที่แสดงหรือติดตั้งไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคลรถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์
ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน
ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก 1 และ 2 โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร

3.ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ได้แก่
เจ้าของป้าย
ใน กรณีที่ไม่มีผู้อื่นยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายหรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้เสียภาษี ป้ายถ้าไม่อาจหาผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดิน ที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ

4. ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
เจ้าของป้ายที่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
ใน กรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายหลังเดือนมีนาคมหรือติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทน ป้ายเดิมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วันนับแต่วันที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายหรือนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้ว แต่กรณี

5. หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษีป้าย
เพื่อความสะดวกใน การเสียภาษี ควรแนะนำผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำหลักฐานประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษี (ภ.ป.1) เท่าที่จำเป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเท่านั้น
5.1 กรณีป้ายที่ติดตั้งใหม่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่ติดตั้งใหม่ ได้แก่
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. หนังสือรับรองหุ้นส่วนบริษัท
5. ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย
5.2    กรณีป้ายรายเก่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีป้ายไว้แล้วควรนำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายครั้งก่อนมาแสดงด้วย

6. ขั้นตอนการชำระภาษี
6.1 ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) พร้อมด้วยหลักฐาน
6.2 พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเป็น 2 กรณีดังนี้
– กรณีที่ผู้เสียภาษีป้ายประสงค์จะชำระภาษีป้ายในวันยื่นแบบแสดงรายการภาษี ป้าย ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและประเมินภาษีป้ายได้ทันที่ให้แจ้งผู้เสีย ภาษีป้ายว่าจะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเท่าใด
– กรณีผู้เสียภาษีป้ายไม่พร้อมชำระภาษีในวันยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย พนักงานเจ้าหน้าที่จะมีหนังสือแจ้งการประเมิน (ภ.ป.3) แจ้งจำนวนเงินภาษีที่จะต้องชำระแก่ผู้เสียภาษี
6.3 ผู้เสียภาษีต้องมาชำระเงินค่าภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินมิฉะนั้นจะต้องเสียเงินเพิ่ม
6.4 การชำระภาษีป้าย
– เจ้าของป้ายมีหน้าที่ชำระเงินภาษีป้ายเป็นรายปียกเว้นป้ายที่แสดงปีแรก
– ระยะเวลาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
– สถานที่ชำระภาษี ได้แก่ สถานที่ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไว้ หรือสถานที่อื่นที่
พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
– การชำระภาษีป้ายวิธีอื่น ได้แก่ ธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินของธนาคารสั่งจำหน่ายส่วนท้องถิ่น  ส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียน  ส่งโดยสถานที่ตาม 2

การผ่อนชำระหนี้
1. ภาษีป้าย 3,000 ขึ้นไป
2. ผ่อนชำระเป็น 3 งวดเท่าๆ กัน
3. แจ้งความจำนงเป็นหนังสือก่อนครบกำหนดเวลาชำระหนี้
– ป้ายติดตั้งปีแรก
– คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด
– งวดละ 3 เดือน
– เริ่มเสียตั้งแต่งวดที่ติดตั้งจนถึงงวดสุดท้ายของปี

งวด 1 มกราคม – มีนาคม = 1oo%
งวด 2 เมษายน – มิถุนายน = 75%
งวด 3 กรกฎาคม – กันยายน = 5o%
งวด 4 ตุลาคม – ธันวาคม = 25%

เงินเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะต้องเสียเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้
1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของ ภาษีป้ายเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงภาษีป้ายก่อนที่พนักงาน เจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้นให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของ ค่าภาษีป้าย
2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีป้าย ลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของค่าภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมเว้น แต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่ พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน
3. ไม่ชำระภาษีป้ายในเวลาที่กำหนดให้เสียงเงินเพิ่มร้อยละสองของต่อเดือนของค่า ภาษีป้ายเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนทั้งนี้ไม่ให้นับเงินเพิ่มตาม 7.1 และ 7.2 มาคำนวณเป็นเงินเพิ่มตามข้อนี้ด้วย

บทกำหนดโทษ
1. ผู้ใดแจ้งความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำเท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำ พยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5000 บาท ถึง 50000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท
3. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายหรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท
4. ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งให้มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญชีหรือเอกสารเกี่ยว กับป้ายมาตรวจสอบภายในเวลาอันสมควรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรืทั้งจำทั้งปรับ

การอุทธรณ์การประเมิน
เมื่อ ผู้เสียภาษีได้รับการแจ้งการประเมิน (ภ.ป.3) แล้วเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อผู้บริหาร ท้องถิ่นหรือผู้ได้รับการมอบหมายโดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับการแจ้งการประเมิน ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้บริหารท้องถิ่นต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์

การขอเงินคืนภาษีป้าย
ผู้ เสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินกว่าที่ควรจะต้องเสียผู้ นั้นมีสิทธิขอรับเงินคืนได้โดยยื่นคำร้องขอคือภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เสียภาษีป้าย